บทที่2 จดทะเบียนพาณิชย์
ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์
พ.ศ. 2499 ผู้ที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ คือคนเดียวหรือบุคคลหลายคน (ห้างหุ้นส่วน)
หรือนิติบุคคล
รวมทั้งนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด
ผู้ประกอบการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ได้แก่
1.1.1 ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
1.1.2 ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ
อย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
1.1.3 นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่าง
1.1.4 ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรม
1.1.5 การขนส่ง การขายทอดตลาด
การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน
การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร
การโพยก๊วน การทำโรงรับ จำนำ และการทำโรงแรม
1.1.6 ขาย
ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี
หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
1.1.7 ขายอัญมณี
หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
1.1.8 ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
บริการอินเทอร์เน็ตให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ
โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1.1.9 การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต
1.1.10 การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
1.1.11 การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
1.1.12 การให้บริการตู้เพลง
1.1.13 โรงงานแปรสภาพ
แกะสลัก และการหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
1.2 เอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์
การจดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ภายใน 30 วัน
เริ่มตั้งแต่ประกอบกิจการ
1.2.1 คำขอจดทะเบียน แบบ ทพ.
1.2.2 หลักฐานประกอบคำขอ
1) สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ประกอบพาณิชย์
2) หนังสือมอบอำนาจ
3) กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ
เอกสารเพิ่มเติมดังนี้
(1) สำเนาเอกสารแสดงการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
(2) หนังสือแต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินการในประเทศ
(3)
กรณีเป็นบุคคลต่างด้าว
ต้องมีใบอนุญาตทำงานของผู้รับผิดชอบรับรองเจ้าหน้าที่กงสุล
หรือสถานฑูตดำเนินกิจการในประเทศ
และมีคำรับรองของผู้มีอำนาจรับรองเอกสารของประเทศนั้นๆ
(4) กรณีประกอบพาณิชย์กิจ ขายหรือให้เช่าแผ่นซีดี
แถบบันทึก วีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิตอล
เฉพาะที่เกี่ยวกับบันเทิงแจ้งเพิ่มเติมดังนี้
ก. แผนที่แสดงสถานที่ซึ่งใช้ประกอบพาณิชยกิจ
ข.
สำเนาหนังสืออนุญาตหรือรับรองให้เป็นผู้จำหน่ายหรือให้เช่าจากเจ้าของลิขสิทธิ์
หรือสำเนาใบเสร็จรับเงินตามประมวลรัษฎากรหรือหลักฐานการซื้อขายจากต่างประเทศ
(5) กรณีประกอบพาณิชย์กิจการค้า อัญมณี
ให้ส่งเอกสารเพิ่มเติมดังนี้
ก.
ตรวจสอบและเรียกหลักฐานแสดงจำนวนเงินทุนของผู้ประกอบพาณิชย์กิจยกเว้นนิติบุคคล
ข. หลักฐานการประกอบอาชีพหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ
หรือกรรมการผู้มีอำนาจของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท แล้วแต่กรณี
(6)
กรณีประกอบพาณิชย์กิจการค้า อิเล็กทรอนิกส์
ส่งเอกสารเพิ่มเติมดังนี้
ก. ผู้ประกอบพาณิชย์กิจเป็นนิติบุคคลให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวของหุ้นส่วนผู้จัดการหรือกรรมการหรือผู้มีอำนาจของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทแล้วแต่กรณี
ข. หลักฐานการประกอบอาชีพหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ
หรือกรรมการผู้มีอำนาจของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท แล้วแต่กรณี
1.1 ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนพาณิชย์
การขอดำเนินการตาม พ.ร.บ.
ทะเบียนพาณิชย์ฯ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามประเภทของการดำเนินการดังนี้
1.3.1 จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ 50 บาท
1.3.2 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ครั้งละ 20 บาท
1.3.3 จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท
1.3.4 ขอให้ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท
1.3.5 ขอตรวจเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจรายหนึ่ง ครั้งละ 20 บาท
1.3.6 ขอให้เจ้าหน้าที่คัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ฉบับละ 30 บาท (หนึ่งคำขอ คิดเป็น
1.3.1 จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ 50 บาท
1.3.2 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ครั้งละ 20 บาท
1.3.3 จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท
1.3.4 ขอให้ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท
1.3.5 ขอตรวจเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจรายหนึ่ง ครั้งละ 20 บาท
1.3.6 ขอให้เจ้าหน้าที่คัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ฉบับละ 30 บาท (หนึ่งคำขอ คิดเป็น
หนึ่งฉบับ)
1.2 สถานที่จดทะเบียน
สถานที่จดทะเบียนพาณิชย์ มีดังนี้
1.4.1 ผู้ประกอบกิจการที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ยื่นคำขอจดทะเบียนที่สำนักงานเขตในท้องที่
1.4.2 ผู้ประกอบพาณิชยกิจ
ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในต่างจังหวัด ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด
หรือเมืองพัทยาแล้วแต่กรณี เว้นแต่พาณิชย์กิจที่รัฐมนตรีกำหนดเป็นการเฉพาะให้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่
สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัด ที่สำนักงานตั้งอยู่
1. การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล / ห้างหุ้นส่วนจำกัด
2.1 ขั้นตอนการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
2.1.1 ตรวจสอบและยื่นแบบจองชื่อห้างหุ้นส่วนเพื่อมิให้ซ้ำกับนิติบุคคลอื่น
2.1.2 กรอกคำขอจดทะเบียน
ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับ
1)
ชื่อห้างหุ้นส่วน
2) วัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วน
3) ที่ตั้งสำนักงานใหญ่และสาขา
4)
ชื่อ ที่อยู่ สัญชาติ อาชีพ สิ่งที่นำมาลงทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน
5)
ชื่อ หุ้นส่วนผู้จัดการ และข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ
6) ตราประทับของห้างหุ้นส่วน
ในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียน
7)
หุ้นส่วนผู้จัดการลงลายมือชื่อคำขอจดทะเบียนต่อนายหน้าทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
หรือสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา
2.1.3 อัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน
1)
ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่เกิน 3 คน ค่าธรรมเนียม 1,000
บาท
2) กรณีเกิน
3 คน ส่วนที่เกินเพิ่มอีกคนละ 200 บาท
2.1.4 รับหนังสือรับรองการจดทะเบียน
ใบสำคัญจดทะเบียนเป็นหลักฐาน
2.2 เอกสารหลักฐานประกอบการขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
แบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนประกอบด้วย
2.2.1 คำขอจดทะเบียน
1) แบบ
ห.ส. 1 (คำขอจดทะเบียนและหนังสือรับรอง)
2) แบบ
ห.ส. 2 (รายการจดทะเบียนจัดตั้ง)
(1) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
ใช้เฉพาะหน้า 1 และ 3
(2) ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ใช้ทั้ง 3 หน้า
2.2.2
เอกสารประกอบคำขอจดทะเบียน
1) แบบจองชื่อนิติบุคคล
2) สำเนาบัตรประจำตัวของผู้จัดการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
3)
สำเนาบัตรทนายความ หรือหลักฐานการเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาของผู้รับรอง ลายมือชื่อ (ถ้ามี)
4)
แบบ สสช. 1 จำนวน 2 ฉบับ (ภูมิภาคใช้ 3 ฉบับ)
5) หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
2.3 การลงลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการ
ผู้เป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการปฏิบัติดังนี้
2.3.1
ลงลายมือชื่อในคำขอและเอกสารประกอบคำขอด้วยตนเอง
2.3.2
ลงลายมือชื่อต่อนายทะเบียนพร้อมแสดงต้นฉบับบัตรประจำตัว
2.3.3
กรณีไม่สามารถลงลายมือชื่อต่อนายทะเบียนให้ลงลายมือชื่อต่อหน้าสมาชิกเนติบัณฑิตย สภาหรือทนายความก็ได้
2.4 สถานที่จดทะเบียน
เมื่อจองชื่อห้างหุ้นส่วนต้องจดทะเบียนภายใน
30 วัน ณ สถานที่ดังนี้
2.4.1
สำงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลจดทะเบียน ณ
สำนักบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1-7 และส่วนจดทะเบียนกลางกรมพัฒนาธุรกิจ ถนนนนทบุรี 1
จังหวัดนนทบุรี หรือทางอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ www.dbd.go.th
2.4.2
สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตภูมิภาค จดทะเบียน ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า
จังหวัดนั้น ๆ หรือทางอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ www.dbd.go.th
2. การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
ลำดับขั้นตอนการดำเนินการจัดตั้งบริษัท
จำกัดมีดังนี้
3.1 ขั้นตอนการจดทะเบียน
บริษัท จำกัด
3.1.1 ขอตรวจและจองชื่อ บริษัท เพื่อมิให้ซ้ำหรือคล้ายกับนิติบุคคลอื่น
3.1.2 ขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
ภายใน 30 วัน
3.1.3 ผู้เริ่มก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทมีผู้เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ
3.1.4
ส่งหนังสือนัดประชุมให้ผู้จองหุ้นทราบล่วงหน้าก่อนประชุม 7 วัน
3.1.5 ประชุมจัดตั้งบริษัท
แต่งตั้งกรรมการบริษัท
ผู้เริ่มก่อการมอบหมายกิจการให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป
3.1.6 กรรมการบริษัทให้ผู้จองหุ้นชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ
25 ของมูลค่าหุ้น
3.1.7
เมื่อได้รับค่าหุ้นแล้ว
กรรมการจัดทำคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัทและนำเอกสารประกอบคำขอไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน
3 เดือนหลังประชุมจัดตั้งบริษัท
3.2 เอกสารหลักฐานประกอบการจดทะเบียน
บริษัท จำกัด
การจดทะเบียนบริษัท
จำกัดมี 2 ขั้นตอนดังนี้
3.2.1 การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
เอกสารประกอบด้วย
1) แบบคำขอ
(1) แบบ บอจ. 1 (คำขอจดทะเบียนบริษัท จำกัด)
(2)
แบบ บอจ. 2 (หนังสือบริคณห์สนธิ)
(3) แบบ
ว. (รายละเอียดวัตถุประสงค์)
2) เอกสารประกอบคำขอ
(1) แบบจองชื่อนิติบุคคล
(2) สำเนาบัตรประจำตัวผู้เริ่มก่อการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
(3) สำเนาบัตรทนายความ
หรือหลักฐานการเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ
(4) หนังสือมอบอำนาจ
(ถ้ามี)
3.2.2 การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จำกัด
เอกสารประกอบด้วย
1) แบบคำขอ
(1) แบบ บอจ. 1 (คำขอจดทะเบียนบริษัท จำกัด)
(2) แบบ
บอจ. 3 (รายการจดทะเบียนจัดตั้ง)
(3) แบบ
ก. (กรรมการเข้าใหม่)
2) เอกสารประกอบคำขอ
(1) แบบ บอจ.5 (สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น)
(2) สำเนาหนังสือนัดประชุม
(3) สำเนารายงานการประชุมจัดตั้งบริษัท
(4)
สำเนาข้อบังคับ (ถ้ามี)
(5) หลักฐานการชำระค่าหุ้นของบริษัทอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
ก.
เอกสารที่ธนาคารออกเพื่อรับรองหรือแสดงฐานะการเงิน
ข.
ใบสำคัญแสดงการชำระหุ้น
ค. หนังสือยืนยันการชำระค่าหุ้นและเก็บรักษาค่าหุ้น
(6)
หนังสือบริคณห์สนธิฉบับตีพิมพ์จำนวน 2 ฉบับ (ภูมิภาค
3 ฉบับ)
(7)
ข้อบังคับฉบับตีพิมพ์จำนวน 2 ฉบับ (ภูมิภาค 3
ฉบับ)
(8) สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
(9)
สำเนาบัตรทนายความ
หรือหลักฐานการเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
(10)
สสช.1 (รายการประกอบธุรกิจ) จำนวน 2 ฉบับ (ภูมิภาค 3 ฉบับ)
(11)
หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
3.2.3 ข้อมูลประกอบคำขอจดทะเบียนบริษัท
จำกัด
1) จำนวนทุนที่ชำระแล้วแบ่งเป็นหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิชนิดละเท่าไหร่
2) ชื่อที่อยู่
อายุของกรรมการทุกคนของบริษัท
3)
รายชื่อกรรมการที่มีอำนาจลงนามแทนบริษัท
4) ที่ตั้งของบริษัท
5) ตราประทับของบริษัท
6)
ข้อบังคับบริษัท (ถ้ามี)
7) ชื่อ
ที่อยู่ สัญชาติ และจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละคน
8)
ชื่อผู้สอบบัญชี เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และจำนวนค่าจ้าง
9) สถานที่เก็บหรือฝากเงินทุนค่าหุ้นที่ชำระแล้วทั้งหมด
3.3 อัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน
ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนบริษัท
แบ่งได้ 2 ประเภท
3.3.1 การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
1) ทุกจำนวนเงินไม่เกิน
100,000 บาท ชำระ 50 บาท ไม่ต่ำกว่า 500 บาท เศษของ 100,000 ให้คิดเป็น 100,000 บาท
2)
ค่าธรรมเนียมรวมกันไม่เกิน 25,000 บาท
3.3.2 การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
จำกัด
1) ทุกจำนวนเงินไม่เกิน
100,000 บาท ชำระ 500 บาท แต่ไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท เศษของ 100,000 ให้คิดเป็น 100,000บาท
2)
ค่าธรรมเนียมรวมกันไม่เกิน 250,000 บาท
-
การขอจดทะเบียนเรื่องอื่น ๆ เรื่องละ 100 บาท
-
การออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนฉบับละ 50 บาท
-
การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรองฉบับละ 50 บาท
-
การรับรองข้อความในใบทะเบียนเรื่องละ 20 บาท
3.4
การลงลายมือชื่อผู้เริ่มก่อการและสถานที่รับจดทะเบียน
การลงลายมือชื่อของผู้เริ่มก่อการหรือกรรมการและสถานที่รับจดทะเบียน
เช่นเดียวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
3.5 สถานที่ให้บริการจดทะเบียนธุรกิจ
3.5.1 ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง อำนาจหน้าที่จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท
จำกัดที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
จดทะเบียนบริษัทมหาชน จำกัด ทั่วราชอาณาจักร
และจดทะเบียนพาณิชย์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเฉพาะ
ที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
(1) ที่ตั้งปัจจุบัน อาคารกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 9 (สนามบินน้ำ) ถนนนทบุรี1 อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
โทร.0-2547-4448-9
3.5.2 สำนักบริการจดทะเบียนธุรกิจ
อำนาจหน้าที่จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท จำกัด
ที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพ ฯ และจดทะเบียนพาณิชย์เฉพาะพาณิชย์กิจที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเป็นการเฉพาะที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขกรุงเทพมหานคร
(1) สำนักบริการจดทะเบียนธุรกิจ
1 อาคารธนากรณ์ทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัดกรุงเทพฯ 10700
โทร. 0-2446-8160
(2) สำนักบริการจดทะเบียนธุรกิจ
2 อาคารเลขที่ 78/13 ถนนพระราม 6 เขตพญาไท กรุงเทพ ฯ 10400 โทร. 0-2618-3340-41
(3)
สำนักบริการจดทะเบียนธุรกิจ 3, 5, 7 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์
ซี 2 ชั้น 1-2 ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โทร. 0-2276-7772
(4)
สำนักบริการจดทะเบียนธุรกิจ 4 อาคารวรวิทย์ ชั้น 8 โซน AB เลขที่ 222 ถนนสุริวงศ์ สี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ
โทร. 0-2234-2951-3
(6)
สำนักบริการจดทะเบียนธุรกิจ 6 อาคารโมเดอร์ฟอร์ม ชั้น 16
ถนนศรีนครินทร์ เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
โทร. 0-2722-8369
กรณีกิจการของห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัท
จำกัด ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ๆ ให้จดทะเบียน ณ
สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทุกจังหวัด
แต่ถ้าเป็นการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ให้จดทะเบียน ณ ส่วนทะเบียนและใบอนุญาตการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
อาคารกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 10 (สนามบินน้ำ)
ถนนนนทบุรี 1 อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทร 0-2547-4419-20
บทสรุป
เพื่อให้การประกอบธุรกิจเป็นสิ่งถูกต้องตามกฎหมาย
ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการขอจัดตั้งโดยการจดทะเบียนธุรกิจกับจดทะเบียนภาษีกับหน่วยงานของรัฐบาล
คือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากร
เมื่อได้ดำเนินการจดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและจดทะเบียนภาษีกับกรมสรรพากรแล้ว
ผู้ประกอบการต้องบันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินทุนที่ผู้ลงทุนนำมาลงในกิจการ
โดยแยกตามลักษณะของการจัดตั้งกิจการ ซึ่งได้แก่ กิจการเจ้าของคนเดียว
กิจการห้างหุ้นส่วน และกิจการบริษัท จำกัด เมื่อได้บันทึกเงินลงทุนแล้ว
ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการโดยจัดให้มีผู้ทำบัญชีที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด
รวมทั้งควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ถูกต้องและตรงตามความเป็นจริงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยถือวันเริ่มประกอบการเป็นวันเริ่มทำบัญชี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น