หน่วยที่ 5 การจัดทำการบัญชีกิจการประเภทต่างๆ
เมื่อเริ่มต้นประกอบธุรกิจ
ผู้จัดทำบัญชีต้องเตรียมการในเรื่องการจัดทำบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีที่ใช้ในการดำเนินงานในการปฏิบัติการแต่ละประเภท
ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะการประกอบการได้ 3 ประเภท คือ กิจการบริการ
กิจการซื้อ-ขายสินค้าและกิจการอุตสาหกรรม
การจัดทำบัญชีของกิจการประเภทต่างๆ
ในปัจจุบันมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับระบบภาษี มูลค่าเพิ่ม
เนื่องจากกรมสรรพากรได้นำมาใช้ในการจัดเก็บภาษีการค้า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535
ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นระบบที่ชัดเจน เป็นธรรมกับผู้ผลิตและผู้บริโภคทำให้ต้นทุนสินค้าที่ขายมีราคาสูง
ช่วยสนับสนุนการแข่งขันเพื่อการส่งออกในระดับโลก
1. การบัญชีในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในหน่วยนี้จะกล่าวถึงภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีของกิจการบริการ
กิจการซื้อ-ขายสินค้า และกิจกรรมอุตสาหกรรม การจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชี
การจัดทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
การปรับปรุงและปิดบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.1 ความหมายของภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) เป็นภาษีอากรประเมินที่จัดเก็บจากมูลค่าสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิต
มูลค่าที่เพิ่มเป็นผลต่างระหว่างราคาขายสินค้าหรือบริการกับราคาสินค้าหรือบริการที่ซื้อมาเพื่อการผลิต
หรือจำหน่าย
ภาษีขาย คือภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เรียกเก็บ
หรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ
ภาษีซื้อ
คือภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บ
เนื่องมาจาก การซื้อสินค้าหรือบริการมาเพ่อใช้ในกิจการของตนเอง
ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการและจะต้องแสดงจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มแยกออกต่างหากจากมูลค่าสินค้าหรือบริการอย่างชัดเจน
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ คำนวณได้ดังนี้
1.2 ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้ผู้ประกอบการซึ่งได้แก่
ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง ผู้นำเข้า และผู้ส่งออกที่มีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านต่อปี
ต้องจดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะประกอบธุรกิจในรูปแบบ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วน
หรือนิติบุคคล
1.3 ผู้ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการที่อยู่นอกระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
เมื่อขายสินค้าหรือบริการไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
แต่ในการซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบรวมทั้งสินค้าทุนที่นำมาใช้ในการประกอบการต้องชำระ ภามูลค่าเพิ่มเมื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการการจดทะเบียนอื่น
โดยไม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแต่สามารถนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้เช่นเดียวกับราจ่ายในการประกอบกิจการตามปกติผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มมีดังนี้
ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มมีดังนี้
- 1 กิจการมีรายรับไม่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี
- 2 กิจการที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
- 3 การขายพืชผลทางการเกษตร
- 4 การขายพืชผลทางการเกษตร
- 5 การขายสัตว์ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต
- 6 การขายสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร
- 7 การขายหนังสือพิมพ์ หนังสือ นิตยสาร ตำราเรียน
- 8 การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์
- 9 การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน
- 10 การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร
- 11 การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์
- 12 การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศซึ่งไม่ใช่ขนส่งโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเล
- 13 การให้บริการวิจัยหรือการให้บริการทางวิชาการ
- 14 การให้บริการรักษาพยาบาลของราชการและเอกชน
- 15 การประกอบวิชาชีพอิสระ
- 16 การให้บริการศิลปะและวัฒนธรรม
- 17 การขายสินค้าและบริการของกระทรวง ทบวง กรม
- 18 การขายสินค้าและบริการเพื่อประโยชน์ทางศาสนา
- 19 การให้บริการทางราชการส่วนท้องถิ่นแต่ไม่รวมถึงการบริการทางพาณิชย์
- 20 การให้บริการการศึกษาของราชการและเอกชน
- 21 การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ
- 22 ขายสลากกินแบ่งรัฐบาล สลากออมสินของรัฐบาล และสลากบำรุงสภากาชาดไทย
- 23 การขายยาสูบที่ผลิตโดยผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบที่เป็นองค์การของรัฐ
- 24 การขายแสตมป์ไปรษณีย์ อากรแสตมป์ แสตมป์ของรัฐ เฉพาะที่ไม่เกินมูลค่าที่ตราไว้ -
- 25 การบริจาคให้แก่ สถานพยาบาล สถานศึกษาราชการ สาธารณกุศล
- 26 การขายสินค้าและบริการของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
- 27 สินค้าจากต่างประเทศที่นำเข้าในเขตอุตสาหกรรมส่งออก
- 28 สินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตรา ศุลกากร
- 29สินค้าซึ่งนำเข้า และอยู่ในอารักขาของศุลกากร แล้วได้ส่งกลับออกไปต่างประเทศโดยได้คือ
- อากร ขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
1.4 ฐานภาษี
ฐานภาษี
หมายถึง มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับ
จากการขายสินค้าหรือบริการ แต่ไม่รวม ส่วนลดการค้า ค่าชดเชยหรือเงินอุดหนุนตามอธิบดีกำหนด
โดยอนุมัติรัฐมนตรี ภาษีขาย
และค่าตอบแทนอื่นๆ ตามกฎหมายกำหนด ได้แก่ มูลค่าสินค้าที่แถมพร้อมรายการขาย
และมูลค่าสินค้าที่แจก หรือรางวัลที่แจกผู้ซื้อในแต่ละวัน
แต่มูลค่าต้องไม่เกินมูลค่าที่ขาย
1.5 อัตราภาษี
ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยปัจจุบันมี
2 อัตราคือ
1.5.1
อัตราร้อยละ 7 สำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการ
และการนำเข้าที่มีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาท ต่อปี
ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องคำนวณหาภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ต้องชำระหรือมีสิทธิ์ได้รับคืน
การคำนวณภาษีที่ต้อง ชำระในแต่ละเดือน คำนวณจาก ภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ
1.5.2 อัตราร้อยละ 0 ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ
0 มีดังนี้
1)
การส่งออกสินค้าสินค้าที่มิใช่สินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
2) การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักร
และได้ใช้บริการนั้นในต่างประเทศ
3) การขนส่งระหว่างประเทศทางอากาศยานหรือเรือเดินทะเล
4)
การขายสินค้าหรือบริการให้กับส่วนราชการตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ 5)
การขายสินค้าหรือบริการแก่องค์กรการสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ
สถานกงสุลใหญ่หรือสถานเอกอัครราชทูตตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด
6)การขายสินค้าหรือบริการระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บน หรือระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการเขตปลอดอากรหรือคลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการเขตปลอดอากร
1.6 ภาษีซื้อต้องห้าม
หรือภาษีซื้อที่ไม่ให้หักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีซื้อตามมาตรา 82/5 และ 82/6 ห้ามบันทึกในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ได้แก่ ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบการ ไม่มีหลักฐานใบกำกับภาษี
หรือมีข้อความไม่ถูกต้องสมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ
หรือออกโดยผู้ไม่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษี นอกจากนี้ยังได้แก่
การให้บริการการศึกษาของราชการและเอกชน นักแสดงสาธารณะ
สินค้านำเข้าในเขตอุตสาหกรรมส่งออก สินค้าที่ได้รับการยกเว้นอารักขาของศุลกากร
และได้ส่งกลับออกไปต่างประเทศ โดยได้คืนอากรเข้าตามกฎหมายศุลกากร ภาษีซื้อต้องห้ามที่เกิดจากการจ่ายค่าใช้จ่าย
เช่น ค่าอาหาร ค่ารับรอง ค่าที่พัก
การบันทึกบัญชีให้บันทึกรวมภาษีซื้อเป็นค่าใช้จ่ายนั้น และนำไปคำนวณกำไรขาดทุน
2.การบันทึกบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่มกิจการต่างๆ
กิจการที่จะจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีบัญชีเพิ่มขึ้น
3 บัญชี คือบัญชีภาษีซื้อ บัญชีภาษีขายและบัญชีลูกหนี้หรือเจ้าหนี้กรมสรรพากร
การบันทึกบัญชีจะแตกต่างกันดังนี้
2.1 กิจการบริการ
2.2 กิจการซื้อ-ขายสินค้า
กิจการซื้อและขายสินค้ามีขั้นตอนการดำเนินงานที่ซับซ้อนกว่ากิจการบริการ
เนื่องจากมีหน่วยงานเอกสารและเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าที่หลากหลาย
ธุรกิจซื้อขายสินค้าไม่ได้ทำการผลิตสินค้า
แต่ทำหน้าที่คล้ายเป็นคนกลางที่ซื้อสินค้ามาและขายสินค้าไป
ค่าใช้จ่ายที่สำคัญของกิจการมี 2 ส่วน คือ ต้นทุนของสินค้าที่ซื้อมาเพื่อขายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
การขายสินค้าจะขายในราคาที่สูงกว่าต้นทุนขาย
2.2.1เงื่อนไขทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสินค้าและขายสินค้า
1) ส่วนลดการค้า การขายสินค้าเป็นบัญชีในหมวดรายได้หลักการบัญชีมีวิธีการปฏิบัติเช่นเดียวกับธุรกิจบริการ
การขายมีทั้งการขายเงินสดและการขายเงินเชื่อ
การขายเงินสดจะมีเงื่อนไขทางการค้าเรียกว่าส่วนลดการค้า
ส่วนลดการค้า หมายถึง
ส่วนลดที่เกิดขึ้นจากการต่อรองราคาสินค้าระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายสินค้า
เพื่อให้ผู้ขายยอมลดราคาสินค้าจากที่กำหนดไว้ในเอกสารใบแจ้งราคาส่วนลดการค้า
ทำให้กิจการไม่ต้องเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าบ่อยๆ
ถ้าผู้ขายจะลดราคาสินค้าให้กับผู้ซื้อมากก็เพิ่มอัตราส่วนลดการค้าให้มากขึ้น
การกำหนดอัตราส่วนลดการค้าจะกำหนดเป็นอัตราร้อยละจากราคาสินค้าที่กำหนดไว้ในใบแจ้งราคา
นอกจากนี้ยังมีการกำหนดส่วนลดการค้าเป็นขั้นๆ หรือที่เรียกว่า ส่วนลดซ้อน
ทั้งนี้เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้ซื้อซื้อสินค้ามากขึ้น
2) ส่วนลดเงินสด
เป็นส่วนลดที่ผู้ขายสินค้ามักจะใช้จูงใจให้ผู้ซื้อชำระค่าสินค้าเร็วขึ้น
โดยผู้ขายยอมที่จะลดจำนวนเงินที่จะได้รับชำระน้อยลง 2-3% ส่วนลดนี้เรียกว่า ส่วนลดเงินสด เช่น -
2/10, n/30
หมายความว่าผู้ซื้อจะต้องชำระหนี้ค่าสินค้าภายใน 30 วัน
นับจากวันที่ระบุในใบกำกับสินค้า แต่ถ้าผู้ซื้อชำระหนี้ภายใน 10 วัน
นับจากวันในใบกำกับสินค้าจะได้ส่วนลด 2% - 3/10 E,O,M.n/30 หมายความว่าผู้ซื้อจะต้องชำระหนี้ค่าสินค้าภายใน
30 วัน นับจากวันที่ในใบกำกับสินค้าแต่ถ้าชำระหนี้ภายใน 10 วันของเดือนถัดจากเดือนที่ซื้อจะได้ส่วนลด
3%
ส่วนลดเงินสดจะต้องบันทึกบัญชีทั้งด้านผู้ซื้อและผู้ขาย ผู้ซื้อเรียกส่วนลดเงินสดที่ได้จากการชำระหนี้ภายในเงื่อนไขการชำระเงินว่า
ส่วนลดรับ (Purchase Discount)
และจะนำส่วนลดรับไปหักจากยอดซื้อ เพื่อหายอดซื้อสุทธิที่ต้องจ่ายชำระเงิน ผู้ขายเรียกส่วนลดเงินสดที่ให้ผู้ซื้อว่าส่วนลดจ่าย
(Sales Discount) และนำส่วนลดจ่ายไปหักจากยอดขาย
เพื่อหายอดขายสุทธิที่จะได้รับชำหระหนี้จากผู้ซื้อ
3) เงื่อนไขการขนส่งสินค้า
ในการซื้อหรือขายสินค้าจะมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการขนส่งสินค้า เงื่อนไขการขนส่งสินค้าเป็นข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
ซึ่งมีดังนี้
(1)
F.O.B. Shipping Point เป็นราคาสินค้าที่ไม่รวมค่าขนส่งหรือการส่งมอบต้นทาง
ผู้ซื้อจะเป็นผู้รับภาระค่าขนส่งเอง ทำให้ต้นทุนสินค้ามีราคาสูงขึ้น เรียกว่า ค่าขนส่งเข้า
(2) F.O.B. Destination เป็นราคาสินค้าที่ได้รวมค่าขนส่งแล้ว
หรือการส่งมอบปลายทาง ผู้ขายเป็นผู้รับภาระค่าขนส่งเอง เรียกว่า ค่าขนส่งออก
ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของกิจการ
2.2.2 การซื้อ – ขายสินค้าในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
เมื่อซิ้อ – ขายสินค้า ซื้อสินทรัพย์ หรือ จ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ
จะต้องนำหลักฐานที่เกิดจากรายการค้ามาบันทึกบัญชี
ความรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่มจะเกิดเมื่อมีการส่งมอบสินค้าตามเกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis)
รายการภาษีซื้อและภาษีขายต้องบันทึกแยกออกจากมูลค่าสินค้าหรือบริการทั้งนี้เพื่อจะได้สรุปยอดภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่งหรือขอคืน
ภาษีซื้อไม่ใช่ค่าใช้จ่ายและภาษีขายไม่ใช่รายได้
ภาษีซื้อจัดอยู่ในหมวดสินทรัพย์เพราะกิจการจะได้สิทธิ์ขอคืนภาษีซื้อจากกรมสรรพากร
ส่วนภาษีขายจัดอยู่ในหมวดหนี้สิน
2.2.3
การปรับปรุงบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่มและการยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
ทุกวันสิ้นเดือนของภาษี ผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องบันทึกโอนปิดบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่มดังนี้
1)
การปรับปรุงภาษีมูลค่าเพิ่ม
กรณีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ
ภาษีขาย xx
ภาษีซื้อ xx
เจ้าหนี้ – กรมสรรพากร xx
การปิดบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
กรณีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ
ผลต่างให้โอนเข้าบัญชี
เจ้าหนี้ – กรมสรรพากร
กิจการต้องนำเงินไปชำระโดยยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษี
กรณีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย
ภาษีขาย xx
ลูกหนี้ – กรมสรรพากร xx
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น